พระรอด
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

Pra Kong focus /ดูตำหนิพระคงวัดพระคงฤาษี

เผยแพร่เมื่อวันที่ : 17 ธันวาคม 2553
อ่าน :: 216,655 ครั้ง

       การดูตำหนิพระคงวัดพระคงฤาษี         ที่มาของพิมพ์พระคง จาการขุดสร้างศาลาการเรียนรู้ชุมชนวัดพระคงฤาษีส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งจากชาวบ้านชุมชนวัดพระคงฤาษี และคนงานทำถนน รอบๆวัดพระคงฤาษี  สภาพพระคงจึงมีความแตกต่างกัน  ทางเวปได้นำเสนอมาแล้วว่าพระคงวัดพระคงฤาษีนั้นมีด้วยกันหลายพิมพ์ทรงแต่ก็มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสวยงามมีต่าทางพุทธศิลป์ชั้นสูงมีความวิจิตรสวยงาม เพราะสร้างโดยช่างหลวงมักจะปรากฏหน้าตาชัดเจน (พระพักต์สวยงาม)ผิดกับพระคงวัดอื่นๆ พระพักต์จะหายไม่ปรากฏ  เนื่องจากการถอดพิมพ์จากพิมพต้นตำหรับ  ในการสร้างพระคงพิธีหลวง เช่นเดียวกับพระรอดวัดมหาวัน (เพราะอาณาเขตวัดติดต่อกัน )เรื่องเนื้อพระเรื่องความพริ้วของใบโพธิ์ความมีมิติ การวางองค์พระ สมส่วนและงดงาม ซึ่งปัจจุบันได้มีการปลอมพระคงและตั้งทฤษฎีขึ้นมา ทำให้นักสะสมรุ่นใหม่เกิดความสับสน เสียค่าโง่ไปก็มาก  ได้มาแจ้งทีมงานให้ไปดูของกลางและเป็นของใครที่แช่น้ำยาไว้เป็นโอ่ง?เขาใช้ทฤษฎีครอบงำเซียนระดับแผงด้านล่าง สมมุติของขึ้นมาโดยการสร้าง จุดตำหนิ เราทราบดี  จึงจำเป็นต้องสร้าง หัวข้อใวปให้ความรู้เรื่องตำหนิพระคงวัดพระคงฤาษีถือว่าสำคัญมากเพราะถือว่าวัดพระคงฤาษีนั้นคือต้นตำหรับพระคงส่วนวัดอื่นๆนั้นรองลงมา  และพระคงฝีมือที่กำลังระบาดขณะนี้โดยการชี้นำของกลุ่มเซียน เราจะไม่กล่าวถึง แต่มาออกใบรับรองไม่ผ่านเพราะอายุพระยังไม่ถึง

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัยเรื่องธรรมชาติพื้นผิวพระคงดำ

  1.  ลักษณะพื้นผิว ถ้าส่องกล้อง20x จะมองเห็นรอยเหนอะของเนื้อพระเกิดจากปฏิกิริยาของน้ำว่านว่านจะมีลักษณะอวบน้ำ ถ้ากดด้วยแรงกดพิมพ์โดยแรงธรรมชาติจะทำให้เกิดรอยเหนอะดังกล่าว  นอกจากนี้ยังพบในพระรอดบางองค์
  2. เกรนบนพื้นผิว จะมีลักษณะคล้ายๆไข่ปลาหรือไข่แมงดาบางท้องถิ่นเรียกว่าเม็ดผด  จะต้องใช้กล้อง20x จึงจะมองเห็นในพระเกีไม่ปรากฏ การนี้จะไปปรากฏในพระซุ้มกอดำ เพราะสรา้งโดยฤาษีสันนิษฐานน่าจะเป็นสูตรการสร้างพระผิวดำ แต่เนื่องจากพระคงดำมีอายุมากกว่า จึงนำเนื้อพระคงดำเป็น Masterpiece ในการพิจารณาธรรมชาติของพระเนื้อดำตระกูลกำแพงเพชร
  3. ฟิลม์ ผิวพระจะมันวาวเมื่อสัมผัสด้วยมือหรือถูขัดด้วยใบตองแห้งเกิดความมันวาวสวยงามทางต่างประเทศเรียกว่า Film  การรักษาผิวพระชนินี้ห้ามถูกนำ้ร้อนจะทำความเสียหายกับแผ่นฟิลม์บนผิวพระ ความแห้งของเนื้อพระและคุณลักษณะพิเศษของเนื้อพระคงดำ
  4. ความแห้งของเนื้อพระ ถ้มือมีเหงื่อ พระจะดูดติดมาขึ้นมาทันที แสดงเนื้อพระแห้ง
  5. ความมันความด้านของผิวพระ ในผิวมันวาวจะทำให้เกิดแผ่นฟิลม์ ( Film )ในต่างประเทศเขาจะรักษาจะไม่ให้ถูกน้ำ โดยใช้แป้งร่ำหรือแป้งมันรักษาผิวพระ

 

 

 

พระคงวัดพระคงฤาษี ( พิมพ์นิยมพิมพเส้นน้ำตก  ) เนื้อพระดูง่าย

 

ขยายให้เห็น เม็ดผดที่ปรากฏชัดเจนในผิวพระคงแท้เท่านั้น
พุทธศิลป์ ใบโพธิ์ มีมิติ คมชัดลึก(ปลายโพธิ์จะแหลม  ) ในเชิงช่างศิลปะของช่างหลวง

แต่กต่างกับพระคงวัดอื่นๆที่ถอดพิมพ์ใบโพธิแข็งที่อไม่มีมิติ เสี้ยนก้านโพธิ์รายละอียดเล็กๆน้อยไม่ปรากฏ 

 

 

 พระคงดำวัดพระคงฤาษีโทนสีเทา

 

 วัดพระคงดำโทนสีน้ำตาล

 

 พระคงดำวัดพระคงฤาษีคราบเดิมๆที่ฉีดน้ำประปาไม่หลุดแสดงเป็นคราบเดิมๆคือคราบแคลเซี่ยม( Ca )

 

 

 พระคงวัดพระคงฤาษี พิมพ์นิยม  1 ( เส้นน้ำตก  )เป็นพิมพ์ที่สวยและมีราคาแพงมากราคาเทียบเท่าพระรอดวัดมหาวันพิมพ์ใหญ่

 

  1.  ใบโพธิ์มีมิติทุกใบ ก้านโพธิ์มีเสี้ยนเล็กถ้าดูด้วยกล้องที่มีกำลังขยายสูง
  2. เส้นรัศมี
  3. ก้านโพธิ์มี2ก้าน (ในองค์ที่ติดชัด)
  4. เส้นผนังสองเส้นมีความคมชัด
  5. พระนาภี (สะดือ)
  6. ปลายนิ้วมือชนแขน
  7. ฐานบัวงุ้มเข่าหากัน
  8. ใบโพธิ์แฝด
  9. ก้านโพธิ์ตรงติดพระรัศมี
  10. ก้านโพธิ์ไม่ติดเส้นรัศมีซ้ายขวา
  11. ปลายใบโพธิ์ปิดเชิดขึ้น
  12. เห็นพระพักตร์ชัดเจน
  13. เส้นสังวาลย์
  14. แขนมีลักษณะคล้ายแขนนักกล้าม
  15. แขนตั้งฉาก
  16. มีกำไลปล้องเท้า
  17. มีเส้นน้ำตกใต้ฐานบัวสุดท้าย
  18. นอกนั้นยังมีข้อปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆ เช่นรอยมาร์คขางฐานเม็ดบัวข้าฐานชนฐาน ผ้าทิพย์ /นอกนั้นดูไข่ปลาบนผิวพระ 
  19. นอกนั้นยังมีรายละเอียดอื่นอีกมาก

 

 พระคงวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ /2

 

 

  1.  ก้านโพธิ์มีเสี้ยนเล็กๆปรากฏ
  2. ปลายใบโพธิ์แตก
  3. ก้านโพธิ์มีสองก้าน
  4. พระนาภี (สะดือ)
  5. นิ้วชี้ซ้ายชนแขนขวา
  6. ฐานบัวทั้งสองงุ้มเข้าหากัน
  7. มีตัวหนอนเล็กๆปรากฏ
  8. มีฐานสองชั้น
  9. โพธิ์แฝด
  10. ก้านโพธิ์ติดเส้นรัศมี
  11. ปลายโพธิ์ปิดขึ้นคล้ายเขาแกะ
  12. เส้นรัศมี
  13. ปรากฏพระพักตร์ชัดเจน
  14. มีเส้นสังวาลย์
  15. พระอุระนูนเด่นดูสง่างาม
  16. แขนซ้ายมีมัดกล้าม
  17. มีกำไลปล้องแขน
  18. กำไลปล้องเท้า

นอกนั้นมีข้อปลีกย่อยออกไปเช่นฐานที่สามชนผนัง ใบโพธิ์ทุกใบจะมีมิติ

 

 พระคงวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ /3

 

 

 พระคงวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ /4

 

 พระคงกรุวัดพระคง พิมพ์ที่

  1. ปีกพระคง
  2. เส้นขอบพิมพ์
  3. เส้นรัศมี
  4. เส้นรัศมีครอบองค์พระ
  5. พระนาภี
  6. นิ้วชี้ชนแขนด้านขวาองค์พระ
  7. ฐานบัวงุ้มเข้าหากัน
  8. ใบโพธิ์แฝด
  9. ก้านโพธิ์ชนเส้นรัศมี
  10. ปลายใบโพธิ์
  11. ปรากฏพระพักตร์ชัดเจน
  12. พระกรรณขวาเป็นเส้นตรง
  13. แขนซ้ายมีมัดกล้าม
  14. กำไลปล้องเท้า
  15. มีตัวหนอนเล็กปรากฏ
  16. ฐานสองชั้น
  17. นอกนั้นยังมีข้อปลีกย่อยอื่นๆฐานบัวชิดผนัง/เสี้ยนของก้านโพธิ์

 

 

 พระคงวัดพระคงฤาษี พิมพ์ที่ /5

 

 

 พระคงวัดพระคงดำวัดพระคงฤาษี พิมพ์นิยม 1 เนื้อจัดมากๆสีปีกกว่างอัก

  

 ด้านหลังพระคงดำวัดพระคงฤาษี ที่ของปลอมยังทำไม่ได้

 

 ตำหนิพระคงดำวัดพระคงฤาษี

  1. มีเส้นขอบนูนขึ้นมาเป็นสัน
  2.  เส้นรัศมีนูนเด่น
  3. ก้านโพธิ์แฉกสองก้าน
  4. เส้นสังวาลย์นูนชัดเจน
  5. เส้นรัศมีสองเส้นมีเส้นในแซมอีกเส้นด้านใน
  6. นิ้วชนแขนด้านขวาองค์พระ
  7. ฐานชั้นที่ 1 -2 จะชนติดผนัง
  8. ฐานคู่จะมีขนาดเท่ากัน
  9. ปีกพระคง มักพบในพระคงแท้
  10. โพธิ์แฝด
  11. ก้านโพธิ์ตรงติดเส้นรัศมี
  12. ปลายโพธิ์แหลมและบิดปลายขึ้น
  13. รูปพระพักต์ชัดเจน
  14. แขนด้านซ้ายองค์พระคล้ายแขนนักกล้าม
  15. การวางแขนตั้งฉาก
  16. โพธิ์งุ้มเข้าหากัน

   นอกจากที่กล่าวมายังมีข้อปลีกย่อย ก้านโพธิ์มีเสี้ยนใบโพธิ์ทุกใบจะมีมิติบางใบเกือบจะเป็นรูปศิลปะลอยตัว นอกจากดูตำหนิแล้วจะต้องมาพิจารณาเรื่องเนื้อพระคงดำนั้นปลอมไม่ได้ คุณสมบัติของเนื้อพระคงดำวัดพระคงฤาษีนั้นจะมีลักษณะแห้งเหี่ยวย่นคล้ายหนังช้าง หรือหนังคนแก่เซียนโบราณบอกว่าดูหลังพระฟันธงได้เลย  แท้เก๊ส่วนพระคงดำเก๊เซียนรับรองนั้นหลังจะเรียบ 

 

หลังพระคงดำจะมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์จำให้ได้จะมีลักษณะย่นเป็นชั้นๆคล้ายหนังช้างสัมผ้สจะมีความมันวาวลื่นมือเกืดจากความจัดของเนื้อพระ
ซึ่งผิดกับเนื้อพระคงสีอื่นๆ

 

 พระคงดำวัดพระคงฤาษีองค์นี้เป็นโทนสีดำ หรือภาษเหนือเรียกว่าแมงเวาดำเป็นมาสเตอร์พีส( Master pirce  )ในการพิจารณาพระคงดำ ถ้าผิดไปจากนี้ให้ดูหน้าเซียนให้ดีๆว่าเป็นหรือเปล่า?

 

 ด้านข้างพระคงดำบางองค์มีรอยมาร์ที่ฐานด้านซ้ายมือองค์พระ

 

พระรอดพิมพ์ใหญ่วัดมหาวัน สีพิกุลแห้ง (ต้นพบโดยลุงมา )

เป็นพระรอดที่มีความสวยงามเป็น หนึ่งในจำนวนที่ช่างหลวงมาร์คนับจำนวนให้เท่ากับพระธรรมขันธ์

 

ด้านข้างฐานพระด้านขวาองค์พระมีรอยมาร์คปรากฎชัดเจน เท่าที่สังเกตุมักจะเป็นพระรอดที่มีพิมพ์สวยงาม

 

พระรอดพิมพ์ใหญ่วัดมหาวัน (พิมพ์อุนาโลม) ค้นพบโดยช่างน้อย
จัดเป็นพระรอดที่บรรจงสร้างโดยช่างหลวง เป็นพิมพ์เดียวกับพระรอดพิมพืใหญ่ที่โชว์อยู่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ปัจจุบัน

 

 ด้านฐานด้านขวาองค์พระจะมีรอยมาร์คชัดเจน(สันนิษฐานว่าจะเป็นการมาร์คภายหลังการกดพิมพ์แล้วเพราะไม่ปรากฏรอยครูดที่ฐานรอยมาร์คแต่อย่างใด?

 

 

  1. ปลายใบโพธิ์แหลมและมีมิติ
  2. ก้านโพธิ์มีสองก้าน
  3. สังวาลย์ /2 เส้น
  4. หังนิ้วมือเฉียงขึ้น
  5. ปลายนิ้วจรดพระพาหา
  6. เส้นผ้าทิพย์
  7. ใบโพธิ์ติดของพิมพ์
  8. ก้านโพธิ์ติดเส้นพระรัศมี
  9. เส้นบังคับพิมพ์
  10. เส้นผนังสองเส้น
  11. แขนซ้ายมีมัดกล้าม
  12. พระนาภี ( สะตือ )
  13. แขนตั้งฉาก
  14. ฐานโพธิ์ทั้งสองงุ้มเข้าหากัน
  15. มีตัวหนอนเล็กๆปรากฏ

นอกนั้นมีข้อปลีกย่อยออกไปเช่นฐานที่สามชนผนัง ใบโพธิ์ทุกใบจะมีมิติ

 

แบบทดสอบท้ายบทเรียน

รูปที่นำเสนอต่อไปนี้ว่าเป็นพระคงพิมพ์ที่อะไรบ้าง ?