พระรอด
เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

จำนวนพระรอดที่ค้นพบ

เผยแพร่เมื่อวันที่ : 2 ธันวาคม 2553
อ่าน :: 20,900 ครั้ง

จำนวนพระรอดที่ค้นพบ

       โบราณวิจารณ์ จากประสพการณ์เรื่องการอ่านหนังสือการศึกษาข้อมูล การลงภาคสนามการพบปะคนขุดพระรอด มีทั้งความจริงและความเท็จดังยกตัวอย่างข้อผิดพลาดเรื่องพระรอดดังต่อไปนี้

  1. เรื่องประวัติพระนางจามเทวี ว่าพระนางจามเทวีล่องแพทวนกระแสน้ำแม่ปิงขึ้นมาตั้งอาณาจักร์หริภุญไชย เพื่อเป็นการขยายอาณาจักร์ความจริงเป็นไปไม้ได้ จริงแล้วท่านเดินทางมาทางบกพร้อมขบวนช้างม้าเสนาอำมาตย์ พร้อมชาวเจ้าอย่างละ 500 ได้แก่พระฤาษี /พราหม์/นักบวช  เพื่อมาสร้างบ้านแปงเมือง ถ้าเสด็จทางน้ำจะบบรจุคนลงแพได้กี่คนและกี่เที่ยว? และจะใช้เวลานานเท่าไร? 
  2. พระนางจามเทวีกำเนิดมาจากดอกบัวและฤาษีนำมาชุบเลี้ยงก็เป็นไปไม่ได้ ในทางวิทยาศาสตร์ และทางธรรมชาติวิทยา /ในทางประวัติศาสตร์  ความจริงแล้วพระนางจามเทวีเป็นธิดาของกษัตริย์ละโว้ (ลพบุรี) มีความสัมพันธ์พระญาติกับพระไชยวรมันกษัตริย์เขมร ดังพยานวัตุถุที่ค้นพบในวัดจามเทวี และที่วัดมหาวันพระดินเผาเป็นศิลปะเชิงช่างของเขมร
  3. พระเปิมภาษาเหนือแปลว่าแบน ไม่ใช่ปรมพรหมแต่อย่างใด ความจริงท่านตรียัมปวายศึกษาเรื่องธรรมะจึงนำไปเปรียบเทียบชื่อพระ ความจริงแล้วชื่อพระเรียกตามภาษาเหนือลำพูนเชียงใหม่ เปิม แปลว่าแบน
  4. เรื่องพระคงดำยิ่งตลกขำกลิ้ง บอกว่าพระคงที่ดำนั้นเพราะว่ากระจายอยู่บนดิน สาเหตุที่เป็นสีดำเพราะเกิดจาการเผาป่า แล้วทำให้พระคงเป็นสีดำ  ซึ่งความเป็นจริงพระคงดำอยู่ในดินอยู่ในกรุ พระคงดำทำจากเนื้อดินผสมว่านไพลดำ/ว่านงู/ผงดำ และนำไปแช่ในน้ำมะเกลือ และน้ำอมฤต 1 พรรษาเนื้อพระจึงมีสีดำ จากการ osmosi แยกสีออกเป็นโซนสี ไปอีกว่าดำ เทา( สมอย )ดำน้ำตาลพระคงดำสนิดสีนิลแพงที่สุด ราคาเท่าพระรอดพิมพ์ใหญ่ หรือที่เรียกว่าลำพูนดำประสพการณ์ในด้าน คงกระพันคลาดแคล้วเป็นเลิศ  
  5. เรื่องจำนวนพระรอดนั้นเพ้อฝันไปต่างๆนาๆว่าเปืดกรุ ปี พ.ศ.2498 นั้น พ.ศ.นี้  มีพระรอดแค่หลัก ร้อยเพราะเป็นพระรอดที่กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณวัดมหาวัน ซึ่งในอดีตเป็นวัดร้างมาก่อน    สรุปพระรอดพบมากในสมัยพระณาณชุมพลเจ่าอาวาสวัดมหาวัน ปี 2494 -2532 .ในสมัยที่พระญาณชุมพลท่านได้มีการก่อสร้างในวัดมหาวันดังนี้ ปี 2495 ก่อสร้างบูรณะพระเจดีย์ ปี 2500 สร้ากุฏิขึ้นมา 3 หลัง  ปี 2507 ได้ก่อสร้างพระอุโบสถ ปี 2526 สร้างกำแพง ปี 2515 สร้างหอระฆัง ปี 2527 สร้างห้องสมุด   จากประวัติการก่อสร้างสมัยพระญาณชุมพลที่มีการก่อสร้างหลายแห่งในวัดนี้เองที่ทำให้กุล่มช่าง ช่างน้อย/ช่างแอ๊ด/ช่างแก้ว/ช่างเสริฐ ได้พัฒนาวัดมหาวันและได้พระรอดไปครอบครองคนละหลายร้อยองค์  และปิดเงียบเป็นความลับไม่เปิดเผยให้ใครทราบเพราะกลัวความผิดหลวงเรียกพระคืนถ้าจะมีพระ กระจายอยู่บ้างเช่นพระคงบ้างให้แฝงพระหน้าวัดมหาวันแต่องค์สวยลุงหมื่นคัดไว้แล้ว           จากความเป็นจริงการค้นพบพระรอดมักจะบรรจุในหม้อดินเผา หรือคนโท จาการค้นพบพระรอดของกลุ่มช่าง บางกลุ่มพบในหม้อหลายพันองค์ เช่นการค้นพบพระรอดที่บริเวณหน้าวัดจามเทวีในการสร้างศาลาเอสเอ็มแอล  1 หม้อขนมจีนของชาวล้านนา มีขนาดใหญ่ยกคนเดียวเกือบไม่ไหว เป็นต้นนี้เป็นแค่ตัวอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่ทราบอีกมากมาย  มาถึงตรงนี้ท่านคงจะตาสว่างได้แล้วนะครับพระรอดวัดมหาวันนั้นมีจำนวนมาก /ไม่ต้องไปเล่นพระเกจิหรือพระอุโมงค์ ให้เสียเวลาเล่นพระที่มีอนาคตพระกรุดูพิจารณาธรรมชาติความเก่าแล้วชวนติดตาม
  6. จาการบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้าน   หนานแดง แก้วตา สมัยเป็นเณรได้บอกว่าวัดมหาวันได้มีการสร้างเจดีย์ใหม่ได้ค้นพนพระรอดพระดินเผาพระยืนพระพุทธรูปจำนวนมากและได้บรรจุใส่ล้อ(เกวียน) ไปบรรจุเจดีย์ที่วัดพระยืน ช่วงนี้เป็นช่วงที่พระรอดรั่วไหลกระจายมากที่สุด  คาดว่ามีพระรอดไม่ต่ำกว่า 10,000 องค์ในฐานเจดีย์องค์เก่า ( ข้อมูลนี้ตรงในพศ2495 พระญาณชุมพล ได้บูรณะพระเจดีย์  )พระรอดจึงกระจายไปตามกลุ่มต่างๆดังนี้  กลุ่มน้อยหมา(ซึ่งขณะนั้นบวชที่วัดมหาวันพอดี)/กลุ่มลุงมา/กลุ่มน้อยแสง /กลุ่มพระญาณ ชุมพล อดีดเจ้าอาวาสวัดมหาวัน/กลุ่มครูบากองแก้ว /กลุ่มเณร เบี้ยว พระบางรูปได้นำพระรอดบรรจุในคนโทไปฝั่งในเขตวัดต่อมามีผู้คนไปขุดพบเรียกพระรอดขุดนี่ว่ากรุน้ำต้น พระชุดนี้ช่างเสริฐค้นพบปนอยู่กับพระรอดพิมพ์ใหญ่ แสดงว่าพระรอดกรุน้ำต้นนั้นได้สร้างในยุคเดียวกันจากหลักฐานพยานที่ค้นพบ  ส่วนกลุ่มคนงานก็กระจายออกไปบ้างก็นำไปขายให้โกหยวนบ้างคุณเชียร ธีรศาสน์บ้าง คุณบุญเสริม ศรีภิรมย์บ้างพระคุณบุญเสริมสะสมเป็นพระรอดสวยจึงถูกพรรคพวกอิจฉา ในกลุ่มนักเล่นพระรอด  ดังรูปพระรอดพิมพ์เครื่องราชฯ ที่อยู่บนหน้าปกหนังสือสมบัติผลัดกันชม ( พิมพ์นี้ไปตรงกับพระรอดที่ช่างแก้วค้นพบทั้งเนื้อหาสาระและพิมพ์ทรง  )นี่คือยุคแรกของการค้นพบพระรอดที่ได้จำนวนมาก ประวัติจำนวนพระรอดที่ค้นพบในหนังสือข้อครงข้ามและตำราคงลอกกันมาเรื่อ่ยๆ หรือมีความประสงค์เพื่องการอื่น
  7.  กลุ่มช่างก่อสร้าง ที่ได้เข้ามาปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัดอันได้แก่กลุ่มช่างดังนี้การขุดฐานเจดีย์ การสร้างศาลาเอนกประสงค์ในวัดมหาวัน/การสร้างกฏิเจ้าอาวาส/การสร้างหอระฆังโดยช่างแอ๊ดการสร้าง กำแพง ทั้ง 3 ด้าน ของวัดมหาวัน การสร้างหอสมุด การซ่อมแซมถนนข้างวัดมหาวัน (อันเนื่องจากมีการโขมยขุดพระรอดจนทำให้ถนนข้างวัดทรุดพังทลายเทศบาลฯจึงให้ช่างแก้วช่างรับเหมาขุดถนนมาสร้างถนนใหม่จึงพบพระรอดดังกล่าว)ได้พระพระรอดจำนวนมากบรรจุในปล้องไฉนของเจดีย์องค์เก่าดังเดิมที่หักล้มลงมาฝั่งดิน จมอยู่ในหนองน้ำทางทิศตะวันตกของวัดมหาวัน  ลองคิดดูว่าเจดีย์ปล้องไฉนโบราณมีความใหญ่โตขนาดไหน?พระรอดที่บรรจุอยู่ด้านใน พระรอดที่บรรจุอยู่ด้านในมีความสวยงาม พุทธศิลป์สมบูรณ์ อาจารย์อรรคเดช ได้นำเศษพระรอดหักให้อาจารย์เจมส์ ไปทำการวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริการเป็นพระที่มีความเก่า ถึงยุคการให้กรมทรัพย์ ฯทำการวิจัยฯ ผลออกมาทางวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอไปแล้ว  สันนิษฐานเป็นพระรอดถึงยุคพระนางจามเทวี จากการนำพระรอดที่ค้นพบที่หน้าวัดจามเทวีมาเปรียบเทียบเนื้อหาหาสาระและความเก่า และได้ไปทดสอบความเก่าที่ประเทศอเมริกามาแล้ว ว่ามีความเก่าถึงยุค 1,300ปี (ในการสร้างเจดีย์มักจะเอาของเก่าที่มีฤทธิ์บรรจุใส่บนยอดเจดีย์)

ดังได้แยกกลุ่มที่ค้นพบพระรอดไปหลายกลุ่มดังนี้

  • กลุ่มช่างน้อย (จุดที่พบพระรอดศาลาเอนกประสงค์)
  • กลุ่มช่างแก้ว (จุดที่พบพระรอดถนนข้างวัด)
  • กลุ่มช่างแอ๊ด (จุดที่พบพระรอดสร้างหอระฆัง)
  • กลุ่มช่างเสริฐ หน้าวัดจามเทวี (จุดที่พบพระรอด ศาลาเอสเอ็มแอล/ท่อน้ำหลังวัดมหาวัน
  • กลุ่มคนงานเทศบาลนครลำพูน
  • กล่มลุงมา หลังวัดพระคง 
  • กลุ่มลุงน้อยแก้ว
  • กลุ่มน้อยหมา (ตานายบอล ลำพูน)
  • กลุ่มอุ๋ยกอ๋ง (ตานายพงษ์หลังวัดมหาวัน)
  • กลุมหนานแสง อินต๊ะแก้ว(ตานายต้อม) 
  • กลุ่มลุงหมื่นบ้านริมปิง

(พยานบุคลส่วนใหญ่ยังมีชีวิตอยู่)

สรุป  มีการค้นพบพระรอดมากแต่อยู่ที่กลุ่มคนดังกล่าวพระรอดไม่ได้กระจายลงแผงพระด้านล่างเพราะคดีความพึ่งหมดอายุความ ตัวอย่างจำนวนการสร้างพระรอดอย่างการสันนิษฐานตามศิลาจารึก/ตามพยานบุคคคล/พยานวัตถุพอประมาณการได้ดังนี้

  1. สร้างในสมัยพะนางจามเทวีสร้างอาณาจักรใหม่ๆบริเวณหน้าวัดจามเทวี  จำนวน 84,000 องค์
  2. สร้างพระรอดวัดมหาวัน บรจุพระเจดีย์และแจกให้ทหาร                        จำนวน 84,000 องค์
  3. สร้างพระรอดในสมัยพระยาสรรพสิทธิ์(หลักฐานตามศิลาจารึกพุทธฯ.ที่17)จำนวน 84,000 องค์

รวมโดยประมาณ                                                                                                  252,000 องค์

   ยังไม่รวมพระรอดที่ฝากรุที่ค้นพบวัดพระคง/วัดสันกู่เหล็ก และไม่ทราบว่าจำนวนการสร้างแต่ละพิมพ์แยกเป็นพิมพ์พิมพ์ใหญ่ 84,000 องค์ พิมพ์กลาง/พิมพ์เล็ก/พิมพ์ต้อ/พิมพ์ตื้น อย่างละพิมพ์เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์หรือไม่ ?เป็นการบ้านที่ต้องคิด การนี้ก็ทำให้นึกถึงจำนวนพระสมเด็จ เมีลักษณะคล้ายกัน สร้าง3-4วัดบอกมีจำนวนแค่หลักร้อยอย่างนี้เป็นต้น อนุรักษ์หรือทำลาย ?   

        จะนำเสนอพระรอดในกลุ่มของช่างแก้ว ที่ค้นพบในปล้องไฉน ถ้าว่าเป็นพระรอดเนื้อดีที่สุดที่มีสวยงาม และมีความเก่า ที่บรรจุในเจดีย์ว่ามีพิมพ์พระรอดกี่พิมพ์

 

 พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 1(  พิมพ์ใหญ่หูขอ )
ค้นพบโดยช่างแก้ว

 

 พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 2  ค้นพบโดยช่างแก้ว

 

 พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 3ค้นพบโดยช่างแก้ว(กำไลปล้องแขน)

 

 พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 4 แข็งคม
ค้นพบโดยช่างแก้ว

 พระรอดพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 5 เครื่องราชฯ
ค้นพบโดยช่างแก้ว

 พระรอดพิมพ์กลาง พิมพ์ที่ 6
ค้นพบโดยช่างแก้ว

 

 พระรอดพิมพ์ตื้นพิมพ์ที่ 7
ค้นพบโดยช่างแก้ว

ยังไม่ครบพิมพ์เพราะลูกชายช่างแก้วไม่อยู่เลยได้รูปเท่าที่เห็น โอกาศหน้าจะได้นำเสนอต่อไป  )